ค้นหา
ประเมินตัวเองว่ามีโอกาสเป็นออฟฟิศซินโดรมแค่ไหน และมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง
ประเมินตัวเองว่ามีโอกาสเป็นออฟฟิศซินโดรมแค่ไหน และมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง


 
เพราะในทุกวันนี้ การทำงานของเกือบจะทุกคนต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลักในการทำงาน และในหนึ่งวัน เราก็ต้องใช้เวลาเกือบทั้งวันในการจ้องมองหน้าจอ ไม่ค่อยได้ลุกขยับร่างกายมากเท่าที่ควร พฤติกรรมแบบนี้จึงทำให้เกิดโรคที่หลายคนกำลังเจออยู่ในขณะนี้นั่นก็คือ “ออฟฟิศซินโดรม
 
ออฟฟิศซินโดรม เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อ เยื่อพังผืด และยังรวมไปถึงปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อ และเอ็นอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการชาจากการที่ปลายประสาทถูกกดทับ ซึ่งออฟฟิศซินโดรมนั้นจะมีปัจจัยมาจาก ท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้อง สิ่งแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม หรือระยะเวลาการทำงานที่มาก และต่อเนื่องจนเกินไปก็เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน ดังนั้นในบทความนี้ 55th Laser Clinic จะมาพูดถึงการประเมินตัวเองว่ามีโอกาสที่จะเป็นมากน้อยขนาดไหน และอาการนี้สามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง ไปดูพร้อมกันได้เลยค่ะ

ประเมินโอกาสเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม
 
ในส่วนนี้ 55th Laser Clinic จะมาพูดถึงพฤติกรรม รวมไปถึงอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ เพื่อที่จะนำมาประเมินความเสี่ยงที่จะเป็นออฟฟิศซินโดรม โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
 
- ในระหว่างที่กำลังทำงานอยู่ คุณมักจะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ หลัง ไหล่ เอว อยู่บ่อย ๆ
- อาการปวดเมื่อยต้นคอ หลัง ไหล่ เอวนั้น ในบางครั้งคุณรู้สึกปวดเมื่อยจนต้องทานยาแก้ปวด หรือต้องไปนวดเพื่อบรรเทาอาการปวด
- ในการทำงานของคุณ คุณจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาอยู่กับหน้าคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน
- คุณมักจะมีอาการตาพร่ามัว มองหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ค่อยชัดบางครั้งในระหว่างการทำงาน
 
ถ้าคุณกำลังอยู่ในปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ นั่นอาจจะหมายความว่า คุณมีโอกาสที่จะเป็นออฟฟิศซินโดรม ควรรีบหาวิธีแก้ไข และป้องกันทันที

ป้องกันอย่างไร ไม่ให้เป็นออฟฟิศซินโดรม

 
ถึงออฟฟิศซินโดรมจะสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยาก แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีวิธีป้องกันตัวเองอยู่ ทั้งในเรื่องของพฤติกรรมการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมีวิธีดังนี้
 
- ควรปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม โดยจะต้องให้หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่พอดีกับระดับสายตา หรือเหนือกว่าเล็กน้อย และตั้งให้ห่างเท่ากับความยาวแขน แป้นพิมพ์ควรทำมุม 90 องศากับระดับข้อศอก และปรับเก้าอี้ให้เท้าสามารถวางพื้นได้พอดี
- ในระหว่างการทำงานควรมีช่วงพักยืดกล้ามเนื้อ เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้ออยู่ในท่าเดิมนานเกินไป และควรพักสายตาอย่างน้อยทุก ๆ 10 นาที
- หมั่นออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ เช่น การเล่นโยคะ เพราะจะเป็นวิธีที่จะช่วยยืดกล้ามเนื้อได้อย่างดี
 
หากใครที่กำลังเจอกับอาการออฟฟิศซินโดรมอยู่ ควรที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี นั่นคือการทำกายภาพบำบัด เพราะจะช่วยรักษาได้อย่างตรงจุด แลมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งที่ 55th Laser Clinic เรามีนักกายภาพมากประสบการณ์ ที่พร้อมจะดูแลทุกท่าน รับรองได้เลยว่าเราจะมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับทุกท่านที่มารักษากับเราแน่นอนค่ะ
แชทผ่าน Facebook
แชทผ่าน Line
โทรศัพท์